มหายุทธศาสตร์ ในฐานะตัวเเปรเชิงกลยุทธ์ของรัฐชาติในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, January 22, 2025January 30, 2025 Post Views: 103 นับตั้งแต่ต้นปี คตวรรษที่ 20 โลกเราขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงรัฐชาติ(หรือสภาพของรัฐชาติ) โดยแปลงสภาพความเป็นตัวแปรตามจากมหายุทธศาสตร์ของชาติมหาอำนาจอยู่เสมอ ดังเช่นกรณีของ สหรัฐอเมริกาที่มียุทธศาสตร์หลักต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 ประการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การครองความเป็นเจ้า ยุทธศาสตร์การสกัดกั้นการขยายอิทธิพล ของจีน และยุทธศาสตร์การทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย จากยุทธศาสตร์ดังกล่าว สหรัฐฯ ได้ดำเนินนโยบายเพื่อบรรลุยุทธศาสตร์ โดยผ่าน 2 ช่องทาง ช่องทางแรก คือ ความสัมพันธ์ ทวิภาคี ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาจนถึงปัจจุบัน สหรัฐได้สร้างเครือข่ายพันธมิตรทาง ทหารทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะกับพันธมิตรทั้ง 5 ซึ่งได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ไทย และ ออสเตรเลีย ยุทธศาสตร์นี้เรียกว่า ยุทธศาสตร์ hub and spokes คือ ยุทธศาสตร์ที่สหรัฐฯ เป็นดุมล้อ และความสัมพันธ์กับพันธมิตรเป็นซี่ล้อ และอีก ทางช่องทางหนึ่งในการดำเนินนโยบายของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ช่อง ทางพหุภาคี ซึ่งมีความสำคัญรองลงมาจากช่องทางทวิภาคี โดยสหรัฐพยายามครอบงำ APEC(ประภัสสร์ เทพชาตรี,2552) แต่ในปัจจุบันกลับพบว่า ยุทธศาสตร์ของสหรัฐมีความไม่ราบรื่นมากนัก อันเนื่องจาก ความพยายามของจีนในการกำหนดมหายุทธศาสตร์ที่มีต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ไทย สปป.ลาว สหภาพเมียนมาร์ กัมพูชา ตลอดจนเวียดนาม ซึ่งปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 14 ดังจุดเน้น การพัฒนาเทคโนโลยีแบบพึ่งพาตนเองด้านเซมิคอนดักเตอร์(ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,2564) หรือแม้กระทั่งข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) เป็นชื่อย่อของ “แถบเศรษฐกิจเส้นทาง สายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 โดยเป็นการริเร่มโครงการเครือข่ายถนนและรถไฟเชื่อมจีนกับยุโรปผ่านเอเชียกลาง และทางทะเลที่เชื่อมท่าเรือจีนกับท่าเรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,2566) ซึ่งในปัจจุบันส่งผลต่อความมั่นคงของยุทธศาสตร์สหรัฐอเมริกามากพอสมควรในภูมิภาคแถบนี้ นอกจากทั้งสองประเทศมหาอำนาจแล้ว ยังมีกลุ่มสหภาพยุโรป ยังมีมหายุทธศาสตร์ที่มีต่อกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่น่าสนใจคือ ความร่วมมือที่มีการขยาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และการพัฒนา รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วความร่วมมือกับสมาชิกอาเซียนตามหลักการการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่งอีกด้วย ตลอดจนการออกยุทธศาสตร์เอเชียใหม่เช่นกัน(ศิวศิลป์ จุ้นเจริญ,2566) จากทั้ง 3 กลุ่มประเทศมหาอำนาจที่ใกล้ชิดกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง พบว่า แนวทางและพฤติกรรมในการกำหนดมหายุทธศาสตร์มักเกี่ยวข้องในความสัมพันธ์ตั้งแต่ระดับบุคคล(ผู้บริหาร) ไปจนถึงระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งในส่วนของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ผลประโยชน์ระหว่างรัฐ ความต้องการของประชาชน ระบบการเมือง ระบบราชการ และวัฒนธรรมเชิงยุทธศาสตร์ ดังตัวอย่างของจีน ที่ถูกชี้นำโดยประธานาธิบดีสีจิ้นผิงที่ถูกระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่าด้วยความคิดของสีจิ้นผิงส่งผลให้ในปัจจุบันมีความเชื่อว่า สีจิ้นผิงจะยังคงเป็นผู้นำไปอีกอย่างน้อย 10-20 ปี โดยผลจากความคิดของสีจิ้นผิง อาจนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการกำหนดมหายุทธศาสตร์ของประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เช่นในปัจจุบันพึงจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยเริ่มนำแนวคิดการกำหนดยุทธศาสตร์ระยะยาว(ยุทธศาสตร์ 20 ปี) การกำหนดนโยบายไทยแลนด์ 4.0ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับแนวคิดในการกำหนดนโยบาย Made in Chaina ตลอดจนการขับเคลื่อน Eastern Economic Corridor (EEC) หรือโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งโครงการดังกล่าวมีความต้องการรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนโดยเฉพาะ เป็นต้น นอกจากนโยบายของสีจิ้นผิงแล้ว ยังมีมหายุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อประเทศอื่นๆทั่วโลก เช่นนโยบาย America First ของทรัมป์ในช่วงรับต่ำแหน่งสมัยที่ 1 ในปี 2017 ที่มุ่งปกป้องผลประโยชน์ ของคนอเมริกัน การสร้างกำแพงภาษีนำเข้าและไม่สนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้า ส่วนในการเข้ารับตำแหน่งในสมัยที่ 2 ในปี ค.ศ.2025 ทรัมป์ได้ประกาศ 10 ประเด็นนโยบายที่สำคัญ กล่าวคือ การเริ่มต้นยุคทองของอเมริกา โดยการประกาศให้อเมริกาเป็นที่หนึ่งในทุกด้าน การฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเสรีภาพของรัฐบาล โดยการยุติการให้รัฐบาลเป็นเครื่องมือทำลายฝ่ายตรงข้าม การประกาศนโยบายด้านเศรษฐกิจและพลังงานโดยการยกเลิกนโยบาย Green New Deal และข้อบังคับยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสงครามการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐและจีน อีกบทั้งทรัมป์ยังประกาศว่า สหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้นำในการสร้างความสงบสุขระดับโลก มีการใช้นโยบายการค้าเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้ประชาชน ตลอดจนการเน้นบทบาทของอเมริกา ในฐานะชาติผู้นำที่ทรงพลัง และที่สำคัญคือ ยังประกาศให้อเมริกายิ่งใหญ่กว่าที่เคยเป็น ดังมหายุทธศาสตร์ทั้งสองประเทศ อาจจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เช่น การกีดกันทางการค้าที่รุนแรงขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนอาจส่งผลกระทบต่อระบบห่วงโซ่อุปทานของพื้นที่กลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตลอดจนการยกเลิกสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาอาจจะทำให้จีนหันกลับมาทุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขมากขึ้น ส่งผลต่อความสมดุลด้านราคาในที่สุด อย่างไรก็ตามวิกฤตอาจมาพร้อมโอกาส การย้ายฐานการผลิตออกจากจีน เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีสหรัฐฯ อาจเป็นโอกาสให้ไทยดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ไทยมีความพร้อมด้านห่วงโซ่อุปทานและแรงงานมีฝีมือ นอกจากนี้ นโยบายด้านพลังงานของทรัมป์ อาจเป็นโอกาสให้ไทยทบทวนยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศ โดยเฉพาะการสร้างสมดุลระหว่างพลังงานสะอาด และความมั่นคงทางพลังงาน รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรม EV ที่ควรเน้นการพึ่งพาตลาดในประเทศและภูมิภาคมากขึ้น(ฐานเศรษฐกิจ,2568) เพราะฉะนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า สิ่งที่สำคัญของการอยู่รอดท่ามกลางมหายุทธศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจที่มีอิทธิพลของรัฐชาติ(โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง)ได้นั้น สิ่งที่สำคัญคือ ความสามารถในการดำรงตนอยู่ได้อย่างปลอดภัยโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของรัฐชาติอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งที่พึงกระทำมากที่สุด (Mearsheimer,2011) เพื่อให้สอดคล้องกับมหายุทธศาสตร์และหรือสถานการณ์ของรัฐมหาอำนาจเหล่านั้น หากการกระทำใดๆก็แล้วแต่ เป็นการต่อต้าน หรือมีเจตนาเพื่อต่อต้านรัฐชาติเหล่านั้นมักเป็นการกระทำที่ไม่มีอิทธิพลหรือเป็นตัวแปรที่มีความหมายมากมายนัก ภาพคนริมแม่น้ำโขงของประเทศไทย ขอให้หยุดสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับจีน เนื่องในวันหยุดเขื่อนโลก แต่ถึงอย่างไรก็ตามจีนยังคงเดินหน้าสร้างเขื่อนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน(https://shorturl.asia/k3j8X) เพราะฉะนั้น การผันตัวเป็นตัวแปรเชิงกลยุทธ์ของรัฐชาติจึงต้องพิจารณาโครงสร้างและประเด็นที่สะท้อนให้เห็นประโยชน์ต่อรัฐชาติของตนเองให้มากที่สุด ตลอดจนการนำศักยภาพของตนเองที่มีอยู่นำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายให้มีประสิทธิภาพ ดังเช่นการให้ความสำคัญต่อนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยการยกระดับอุตสาหกรรมทั้ง 12 เป้าหมายมาใช้ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและบริการ ตลอดจนการผลิตสร้างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของประเทศไทยที่มีส่วนผลักดันศักยภาพของประเทศไทยที่มีอยู่ให้มีความสามารถในการแข่งขันให้มากที่สุด การผลักดันประเทศลาวที่มีสภาพ Land Lock ไปสู่ความเป็น Land Link ตลอดจนการประกาศตนเองของ สปป.ลาว ว่าจะเป็นแหล่งผลิตพลังงานที่สำคัญของเอเชียหรือ Battery of Asia และในส่วนของเมียนมาร์ คือการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกต่างๆของตนเองเพื่อให้มีความสามารถรองรับการค้า การลงทุนรองรับตลาดที่มีกำลังซื้อมหาศาลจากจีนและอินเดีย เป็นต้น นี่คือการผันตัวเป็นตัวแปรเชิงกลยุทธ์ของรัฐชาติ อันเป็นพื้นฐานของการรองรับมหายุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การคัดง้าง ต่อต้าน แนวทางในการขับเคลื่อนมหายุทธศาสตร์ของรัฐมหาอำนาจย่อมกระทำได้ แต่มักไม่อาจนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันอย่างแท้จริง มหายุทธศาสตร์สู่ระเบียงเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ NEC