ยุทธศาสตร์ NEC ทฤษฎีระบบกับยุทธศาสตร์การพัฒนา:System Theory and Development Strategy ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, January 30, 2025March 6, 2025 จากที่ได้กล่าวในหัวเรื่อง ทฤษฎีระบบ System Theory :ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้น ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของการพัฒนาทฤษฎีระบบและการนำทฤษฎีระบบไปใช้ในศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมสงเคราะห์ โดยพบว่า วิธีคิดของทฤษฎีระบบหรือ System Theory เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับการคิดวิเคราะห์เป็นที่ตั้งและเป็นเหรียญอีกด้านนึงของกระบวนการคิดแบบเส้นตรงหรือ Linear thinking โดยการคิดแบบเส้นตรงนั้นเป็นรูปแบบการคิดที่พบว่า เมื่อพฤติกรรมเป็นอย่างไร นั่นก็เเสดงว่า เกิดจากปัจจัยเหล่านั้นเป็นที่ตั้ง (หรือ ถ้าเหตุเป็นอย่างนั้นเเล้ว ผลก็ต้องเป็นอย่างนั้น) เเตกต่างจากการคิดเชิงระบบของทฤษฎีระบบ เพราะว่า ทฤษฎีระบบตั้งอยู่บนฐานการคิดที่มีความสลับซับซ้อนเป็นที่ตั้ง(Complex System) คือถ้าเป็นอย่างนี้ก็สามารถเป็นอย่างนั้น อย่างโน้นได้ไม่ตายตัว หรือเป็นไปได้หลายอย่าง เพราะ ลักษณะของทฤษฎีระบบมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากกว่า 1 เสมอ และเมื่อมีความเกี่ยวข้องมากกว่า 1 นั้นย่อมเเสดงว่า ผลที่ได้ก็มากกว่า 1 นั่นเอง สำหรับเเนวคิดของทฤษฎีระบบ เป็นอีกหนึ่งตัวแบบที่สามารถนำมาอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้ันในสังคมได้อย้่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นการให้ความสำคัญกับการศึกษาและมองสังคมเป็นองค์รวมและเป็นระบบ และการมองมักจะมีองค์ประกอบนับตั้งเเต่ปัจจัยนำเข้า(Input) กระบวนการในการผลิต(Process) และ หน่วยผู้ใช้ผลผลิต(Output) ทั้งนี้ทั้งสามหน่วย อยู่ภายใต้สภาพบริบทที่มีอยู่(Context) หรือบางตำรามักใช้คำว่า environment ดังแนวคิดของ… Continue Reading
ยุทธศาสตร์ NEC ทฤษฎีระบบ System Theory :ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้น ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, January 30, 2025March 6, 2025 ทฤษฎีระบบ(System Theory) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมาจากความต้องการในการสังเกตเหตุการณ์และสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนศาสตร์ทางด้านสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในงานทางด้านสังคม การคิดเชิงระบบได้รับอิทธิพลอย่างมากจากนักชีววิทยา Ludwig von Bertalanffy และการประยุกต์ผลการศึกษาจากนักจิตวิทยาโดย Uri Bronfenbrenner ซึ่งได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับชีวภาพของมนุษย์ภายใต้สภาพเเวดล้อมทางนิเวศวิทยา ด้วยรากฐานจากทฤษฎีระบบของ Ludwig von Bertalanffy และรากฐานจากทฤษฎีจิตวิทยาของ Uri Bronfenbrenner จากผลการศึกษาอย่างบูรณาการดังกล่าว นำไปสู่การบูรณาการร่วมกันกับองค์ความรู้ศาสตร์อื่นๆทางสังคมและวิทยาศาสตร์ (Friedman & Allen, 2014) ภาพ Von Bertalanffy ที่มา:https://en.wikipedia.org/wiki/Ludwig_von_Bertalanffy Von Bertalanffy เสนอว่า การเปลี่ยนเเปลงของสังคม ตลอดจนสิ่งมีชีวิตต่างๆสามารถอธิบายได้โดยการมองภาพรวมต่างๆของระบบนิเวศสิ่งเเวดล้อมเป็นองค์ประกอบ และเขายังกล่าวอีกว่าการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ต่างๆของสิ่งมีชีวิต นักวิชาการคนอื่นๆจึงนำเอาเเนวคิดของ Von Bertalanffy ไปใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์และการปฏิสัมพันธ์กับระบบอื่นๆโดยมองว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเลห่านั้น เป็นกลไกของการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนเเปลง ซึ่งนำไปสู่การสร้างสมมติฐานที่ว่า “องค์รวม เป็นมากกว่าผลรวมของส่วนประกอบต่างๆ กลายเป็นคำศัพท์ใหม่ๆเกิดขึ้นเพื่ออธิบายส่วนต่างๆของระบบดังนี้ Micro(ขนาดเล็ก), mezzo(ขนาดปานกลาง), and… Continue Reading
ยุทธศาสตร์ NEC ยุทธศาสตร์การพัฒนา:แนวคิดในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา//กลุ่มสำนักคิดเชิงพรรณนา EP2 ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, January 28, 2025January 30, 2025 จากบทความฉบับที่เเล้ว ผู้เขียนได้กล่าวถึง แนวคิดในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ว่าด้วย กลุ่มสำนักคิดที่เป็นเชิงข้อเสนอ โดยมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มคือ สำนักออกแบบเน้นความเป็นผู้นำในการวิเคราะห์สภาพเเวดล้อมขององค์กร สำนักที่ 2 คือสำนักวางแผน มุ่งเน้นในการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ สำนักคิดที่ 3 คือสำนักคิดการวางตำแหน่ง โดยทั้ง 3 สำนักนี้มีนักวิชาการ นักปฏิบัตินิยมนำไปใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์ และนำไปปฏิบัติอย่างเเพร่หลาย สำหรับในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอนำเสนอกลุ่มสำนักคิดที่ 2 ว่าด้วยสำนักคิดเชิงพรรณนา โดยมีสำนักคิดที่สำคัญ 6 สำนักคิด(ไพบูรณ์ โพธิ์สุวรรณ,2552);(วิกรม บุญนุ่น,2567) ได้เเก่ สำนักคิดที่ 1 สำนักคิดผู้ประกอบการ เป็นการระบุและกำหนดยุทธศาสตร์โดยเกิดจากความเป็นผู้ประกอบการเองของผู้นำที่มีความเข้มแข็ง มีประสบการณ์และเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ตลอดทั้งการนำนวัตกรรมมาใช้ในการสรรค์สร้างองค์การของตนเองให้เข็มแข็ง ทั้งนี้วิธีคิดแบบผู้ประกอบการยังจะต้องอาศัยองค์ประกอบทั้ง 10 ด้าน(ธนภัทร รุ่งธนาภิรมย์,2557 )คือ 1) มีแนวคิดไอเดียหรือวิสัยทัศน์บางอย่างขึ้นมาได้ มีความเชื่อมั่นอยากทำให้ไอเดียเป็นจริง 2) มีความคิดริเริ่มที่จะทำบางสิ่งด้วยตนเอง โดยไม่ต้องรอให้คนอื่นมอบหมายให้เป็นแรงจูงใจที่มาจากภายใน 3) สามารถทำงานหนักแม้ไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ… Continue Reading
แนวคิดและทฤษฎีการสร้างยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์การพัฒนา:แนวคิดในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา//กลุ่มสำนักคิดที่เป็นเชิงข้อเสนอ EP1 ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, January 27, 2025January 30, 2025 นับตั้งแต่มีการนำเอาแนวคิดยุทธศาสตร์การพัฒนามาใช้ในประเทศไทย หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนเริ่มมีการนำแนวคิดที่ได้จากการประยุกต์ใช้จากแนวคิดและทฤษฎีของต่างประเทศมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นการปรับใช้ตั้งแต่ชื่อเรียกยุทธศาสตร์และคำว่ากลยุทธ์ดังระเบียบวิธีที่แตกต่างกัน โดยภาครัฐในยุคแรกเริ่มตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 มีการนำคำว่ายุทธศาสตร์การพัฒนา(Strategy Development) มาเป็นหมุดหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศ ในส่วนของหน่วยงานภาคเอกชน ได้มีการประยุกต์ใช้คำว่า Strategy มาใช้ในการจัดการองค์กรของตนเองด้วยเช่นเดียวกัน(วิกรม บุญนุ่น,2567) ขณะเดียวกัน การกำหนดยุทธศาสตร์ตลอดจนวิธีการกำหนดกลยุทธ์มักจะมีกระบวนการในการกำหนดคล้ายๆกัน ทั้งนี้ แนวคิดในการกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 5 สำนักคิดดังนี้(วิกรม บุญนุ่น,2567;ไพบูรณ์ โพธิ์สุวรรณ,2555) กลุ่มสำนักคิดที่ 1 กลุ่มสำนักคิดที่เป็นเชิงข้อเสนอ เป็นกลุ่มสำนักคิดที่มุ่งนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการก่อตัวของยุทธศาสตร์องค์การ โดยมีด้วยกัน 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่แนวความคิดเชิงข้อเสนอ มี 3 กลุ่มด้วยกันคือ กลุ่มที่ 1 สำนักออกแบบ จะเน้นการวิเคราะห์ศักยภาพขององค์การโดยวิธีการวิเคราะห์ SWOT Analysis เป็นวิธีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การทั้งในส่วนของสภาพแวดล้อมภายนอก(รู้เขา)แบ่งออกเป็นโอกาสและอุปสรรค และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน(รู้เรา) โดยแบ่งออกเป็นจุดอ่อนและจุดเเข็ง ทั้งนี้ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในเป็นกระบวนการของการจัดการเชิงยุทธศาสตร์ภายหลังจากการกำหนดวิสัยทัศน์(Vision) พันธกิจ หรือภารกิจ… Continue Reading
การวิจัยกับ NEC ตัวแบบความคิดด้านยุทธศาสตร์การพัฒนา ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, July 27, 2024January 28, 2025 ภายใต้กระแสแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นคือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างพลิกผัน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัย แนวโน้มเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ การขยายตัวของความเป็นเมือง การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมทางสังคม และภาวะโลกร้อนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับปัจจัยเร่งจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด – 19) ที่ก่อให้เกิดความผันผวนของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมแก่หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสามารถนำมาซึ่งโอกาสและความเสี่ยงที่จะช่วยผลักดันให้การพัฒนาประเทศไทยในระยะต่อไปให้เกิดความสำเร็จ หรือเป็นอุปสรรคให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ขึ้นอยู่กับบริบทหรือศักยภาพและขีดความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยความก้าวหน้าและแพร่หลายของเทคโนโลยีจะสรรค์สร้างประโยชน์ให้เกิดเป็นโอกาสต้องอาศัยการพัฒนาคนและระบบบริหารจัดการด้านดิจิทัลและข้อมูลสารสนเทศให้มีความพร้อมเพื่อรองรับโอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงให้กระจายลงสู่ทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงเท่าทัน ขณะเดียวกันความเสี่ยงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบเชิงลบและเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อประเทศไทยในการที่จะต้องเร่งแสวงหาแนวทางในการแก้ไขรับมือนั้นมาจากแนวโน้มด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจและดิจิทัล รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ รวมถึงมิติการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความเสมอภาคในสังคม ซึ่งบริบทสถานการณ์ของประเทศไทยที่ยังมีข้อจำกัดภายในหลายประการ หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนแล้ว อาจส่งผลให้ประเทศมีความเปราะบางยิ่งขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีความผันผวนสูง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะประเทศจีนมีบทบาทในการกำกับระเบียบเศรษฐกิจการเมืองของโลกมากขึ้น จนทำให้ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาต้องเพิ่มบทบาทในเวทีโลกเพื่อคานอำนาจอิทธิพลของประเทศจีน ทำให้ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของโลกได้รับผลกระทบ กอปรกับความเชื่อมโยงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคมีมากขึ้น และประเทศไทยมีตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ได้เปรียบของการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคด้านการค้าการลงทุนและการให้บริการโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงภูมิภาคเข้ากับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จึงเป็นความท้าทายในบทบาทความร่วมมือที่มีความเหมาะสมกับบริบททางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ ส่งผลต่อทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติเพื่อพลิกโฉมประเทศไทยในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งงชาติ ฉบับที่ 13 ที่มีเป้าหมายหลักเพื่อพลิกโฉมประเทศสู่ “เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน” เพื่อสนับสนุนเสริมสร้างการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมอย่างทั่วถึง ตลอดจนเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จนสามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวไปพร้อมกับการรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความสอดคล้องการพัฒนาหลากหลายพื้นที่ในประเทศไทย กลายผลเป็นการกำหนดแผนยุทธศาสตร์รองรับการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์บนฐานเศรษฐกิจ… Continue Reading
ยุทธศาสตร์ NEC ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ความหมายและความสำคัญ ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, June 14, 2024January 28, 2025 นับตั้งแต่“ยุทธศาสตร์”(Strategy) ได้รับการบรรจุเป็นคำสำคัญ(Key Word) ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ในช่วงปี พ.ศ.2540-2544 ส่งผลให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีการตื่นตัวและสนใจในการศึกษาถึงระเบียบวิธีในการนำมาใช้ในองค์กรและนโยบายสาธารณะของประเทศไทย ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัย ยังได้มีการนำระเบียบวิธีทางยุทธศาสตร์มาปรับใช้ และจัดทำหลักสูตรให้รองรับแนวคิดด้านยุทธศาสตร์ เพื่อใช้ในการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน จุดเด่นของความเป็น “ยุทธศาสตร์” คือ ความเป็น methodology (ระเบียบวิธี) มิใช่ศาสตร์เฉพาะ ส่งผลให้มีการเปิดกว้างให้กับทุกกลุ่มสาขาอาชีพนำไปใช้ รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการจัดการภาครัฐและเอกชนให้ไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่จีนมีนโยบายตามหลักการ “มุ่งลงใต้”ภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt, One Road(Mau,K And Seuren,R,2022) หรือเส้นทางสายไหมเส้นใหม่(ผู้เขียน) ที่มุ่งเน้นฝ่าวงล้อมจากการปิดกั้นของมหาอำนาจตะวันตกโดยการนำของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ประเทศไทยและกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง[1] ปรับตัวขนานใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศใช้ยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขัน การแสวงหาโอกาสจากการค้าการลงทุน การปรับตัวและรวมทั้งการเอาตัวรอด พร้อมทั้งการรับมือสถานการณ์ของสังคมโลกและโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นที่น่าสนใจว่า ประเทศต่างๆเหล่านี้มียุทธศาสตร์ในการปรับตัวอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การทำความเข้าใจทางยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคโดยภาพรวม จะเป็นผลดีต่อการทำความเข้าใจสืบเนื่องต่อไป เพื่อให้เกิดความสามารถเชื่อมต่อไปได้ในทุกเนื้อหาของบทความนี้ ความหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ยุทธศาสตร์มีต้นกำเนิดในภาษากรีกจากคำว่า Strategos ซึ่งหมายถึงนายพลหรือผู้ที่มีอำนาจในกองทัพ… Continue Reading
ยุทธศาสตร์ NEC ความหมายและความสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค* ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, February 25, 2024January 28, 2025 นับตั้งแต่“ยุทธศาสตร์”(Strategy) ได้รับการบรรจุเป็นคำสำคัญ(Key Word) ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ในช่วงปี พ.ศ.2540-2544 ส่งผลให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีการตื่นตัว และสนใจในการศึกษาถึงระเบียบวิธีในการนำมาใช้ในองค์กรและนโยบายสาธารณะของประเทศไทย ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัย ยังได้มีการนำระเบียบวิธีทางยุทธศาสตร์มาปรับใช้ และจัดทำหลักสูตรให้รองรับแนวคิดด้านยุทธศาสตร์ เพื่อใช้ในการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน จุดเด่นของความเป็น “ยุทธศาสตร์” คือ ความเป็น methodology (ระเบียบวิธี) มิใช่ศาสตร์เฉพาะ ส่งผลให้มีการเปิดกว้างให้กับทุกกลุ่มสาขาอาชีพนำไปใช้ รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการจัดการภาครัฐและเอกชนให้ไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่จีนมีนโยบายตามหลักการ “มุ่งลงใต้”ภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt, One Road(Mau,K And Seuren,R,2022) หรือเส้นทางสายไหมเส้นใหม่(ผู้เขียน) ที่มุ่งเน้นฝ่าวงล้อมจากการปิดกั้นของมหาอำนาจตะวันตกโดยการนำของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ประเทศไทยและกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง[1] ปรับตัวขนานใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศใช้ยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขัน การแสวงหาโอกาสจากการค้าการลงทุน การปรับตัวและรวมทั้งการเอาตัวรอด พร้อมทั้งการรับมือสถานการณ์ของสังคมโลกและโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นที่น่าสนใจว่า ประเทศต่างๆเหล่านี้มียุทธศาสตร์ในการปรับตัวอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การทำความเข้าใจทางยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคโดยภาพรวม จะเป็นผลดีต่อการทำความเข้าใจสืบเนื่องต่อไป เพื่อให้เกิดความสามารถเชื่อมต่อไปได้ในทุกเนื้อหาของบทความนี้ ความหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ยุทธศาสตร์มีต้นกำเนิดในภาษากรีกจากคำว่า Strategos ซึ่งหมายถึงนายพลหรือผู้ที่มีอำนาจในกองทัพ… Continue Reading
มหายุทธศาสตร์สู่ระเบียงเศรษฐกิจ ปฐมบท บทความออนไลน์ ระเบียงเศรษฐกิจ ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, February 22, 2024January 28, 2025 นับเเต่สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เริ่มมีเเนวคิดในการปรับปรุงหลักสูตรตั้งเเต่ปี พ.ศ.2565 เป็นต้นมา เราเริ่มมีความคิดเห็นตรงกันว่า สาระส่วนใหญ่น่าจะต้องเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เเละเมื่อกล่าวถึงในกลุ่มประเทศนี้ พบว่า ยังมีหลายเรื่องหลายประเด็นที่นำไปสู่ข้อค้นพบ ข้อศึกษาวิจัย ตลอดจนข้อควรพิจารณาเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย ตลอดจนกรณีศึกษาเพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ อันนำไปสู่วิวาทะด้านฉากทัศน์และแนวทางในการพัฒนาของประเทศ ตลอดรวมถึงวิธีในการรับมือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ทั้งจากสาธารณรัฐประชาชนจีน สปป.ลาว สหภาพเมียนมาร์ ราชอาณาจักกัมพูชา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งเเวดล้อม เพราะฉะนั้นการให้ความสำคัญกับการวางกรอบแนวคิดของหลักสูตรยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคจึงมีส่วนสำคัญยิ่งที่จะนำไปสู่การให้ความรู้ การเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนคนไทย ดังนั้น นอกจากจะมีการวางกรอบแนวคิดด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาในพื้นที่กลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ การให้ความรู้ ซึ่งนอกจากจะเป็นในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบปกติของสาขาวิชาฯแล้วนั้น สาขายังมีวิธีการในการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆ ผ่านระบบออนไลน์ ในเว็ปนี้ เพื่อที่ผู้เรียน และผู้ที่สนใจจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป สำหรับการนำเสนอองค์ความรู้ แนวคิด และข่าวสารในเว็ปนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระเบียงเศรษฐกิจโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย โดยครอบคลุมหัวข้อที่เกี่ยวกับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ เกษตรกับการส่งออกในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ การวิจัยกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ เลาะระเบียงเที่ยว และคติชนคนระเบียงเศรษฐกิจ… Continue Reading