ทฤษฎีระบบ System Theory :ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้น ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, January 30, 2025March 6, 2025 Post Views: 96 ทฤษฎีระบบ(System Theory) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมาจากความต้องการในการสังเกตเหตุการณ์และสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนศาสตร์ทางด้านสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในงานทางด้านสังคม การคิดเชิงระบบได้รับอิทธิพลอย่างมากจากนักชีววิทยา Ludwig von Bertalanffy และการประยุกต์ผลการศึกษาจากนักจิตวิทยาโดย Uri Bronfenbrenner ซึ่งได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับชีวภาพของมนุษย์ภายใต้สภาพเเวดล้อมทางนิเวศวิทยา ด้วยรากฐานจากทฤษฎีระบบของ Ludwig von Bertalanffy และรากฐานจากทฤษฎีจิตวิทยาของ Uri Bronfenbrenner จากผลการศึกษาอย่างบูรณาการดังกล่าว นำไปสู่การบูรณาการร่วมกันกับองค์ความรู้ศาสตร์อื่นๆทางสังคมและวิทยาศาสตร์ (Friedman & Allen, 2014) ภาพ Von Bertalanffy ที่มา:https://en.wikipedia.org/wiki/Ludwig_von_Bertalanffy Von Bertalanffy เสนอว่า การเปลี่ยนเเปลงของสังคม ตลอดจนสิ่งมีชีวิตต่างๆสามารถอธิบายได้โดยการมองภาพรวมต่างๆของระบบนิเวศสิ่งเเวดล้อมเป็นองค์ประกอบ และเขายังกล่าวอีกว่าการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ต่างๆของสิ่งมีชีวิต นักวิชาการคนอื่นๆจึงนำเอาเเนวคิดของ Von Bertalanffy ไปใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์และการปฏิสัมพันธ์กับระบบอื่นๆโดยมองว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเลห่านั้น เป็นกลไกของการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนเเปลง ซึ่งนำไปสู่การสร้างสมมติฐานที่ว่า “องค์รวม เป็นมากกว่าผลรวมของส่วนประกอบต่างๆ กลายเป็นคำศัพท์ใหม่ๆเกิดขึ้นเพื่ออธิบายส่วนต่างๆของระบบดังนี้ Micro(ขนาดเล็ก), mezzo(ขนาดปานกลาง), and macro(ขนาดใหญ่) ใช้ในการอธิบายระบบสังคมที่มีขนาดเเตกต่างกันและมีความสลับซับซ้อน แต่ละระบบมี bounded (ขอบเขต) กล่าวคือ ระบบเป็นทุกสิ่งของความเป็นไปทั้งหมดที่มีคุณสมบัติ หรือข้อจำกัดทางโครงสรา้งที่เเตกต่างกันซึ่งแยกออกจากระบบอื่น การเจริญเติบโตของระบบแต่ละระบบอาจจะอาศัยการซึมผ่าน(permeability)พลังงานให้เเก่กันได้ ซึ่งเกิดจากภาวะระบบที่มีความใกล้เคียงกัน Open System คือระบบเปิด คือการเเลกเปลี่ยนสภาวะเเวดล้อมกับสสาร แต่หากเป็น Closed systems สสารกับสิ่งเเวดล้อมจะถูกแยกออกจากกัน เช่น กลุ่มชาติพันธ์ุกับสถาบันทางการศึกษาหรือระบบสุขภาพซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถเข้าถึงกันได้อันเนื่องจากการเลือกปฏิบัติอย่างมากในพื้นที่ชายเเดนของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านฝั่งสหภาพเมียนมาร์ และขณะเดียวกันระบบจะเติบโตมากยิ่งขึ้นเมื่อมีการนำเข้าของสสารและพลังงานเข้ามามากกว่าการส่งออกสสารและพลังงานมากเกินไป และอาจจะนำไปสู่ความไร้ระเบียบและทำให้ระบบปิดตัวลง เช่นการนำเข้าทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อการผลิตสินค้าและบริการจะส่งผลดีต่อคุณภาพของสินค้า แตกต่างกับการนำออกทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพออกไป พฤติกรรมนี้จะส่งผลให้สินค้าขาดคุณภาพและองค์กรจะปิดตัวลงในอนาคต โดยทั่วไปนั้น ระบบเปิดคือระบบการทำงานโดยปกติ คือเป็นระบบที่มีการโต้ตอบแบบพลวัตร(ไดนามิก:dynamically) กับสภาพเเวดล้อมที่มีขนาดใหญ่กว่า ทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงทั้งในระบบและสภาพเเวดล้อม และพฤติกรรมเหล่านี้มักนำไปสู่ความสมดุล(ความมั่นคง)และสภาวะสมดุลที่มีความเเปรผันและมีสภาพที่มีความยืดหยุ่น ทำให้ระบบเกิดสภาพโค้งงอได้โดยไม่เกิดการเเตกหัก(Friedman & Allen, 2014) (ในทางอุตสาหกรรมอาจจะเรียกว่าการให้ตัว ส่วนในทางสังคม อาจจะเอาไปใช้กับการอธิบายสภาพสังคมที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูง) ในส่วนของ Bronfenbrenner ได้ตั้งข้อสังเกตุเพิ่มเติมว่า ยังมีปัจจัยแวดล้อมเพิ่มเติมจำนวนหนึ่งในระบบสังคมมนุษย์ ซึ่งเขาเรียกว่า สภาพเเวดล้อมทางนิเวศ โดยมุมมองนี้ระบบว่า การพัฒนามนุษย์ไม่สามารถพิจารณาแบบเเยกส่วนได้ และต้องดูในบริบทของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสภาพเเวดล้อมด้วยกัน นอกจากนี้สภาพเเวดล้อมของเเต่ละคนยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ในบริบทของครอบครัวยังมีสิ่งเเวดล้อมทางสังคมอื่นที่มีผล กระทบต่อการเลี้ยงดูเด็ก ทั้งทางด้านการศึกษา การกิน การใช้ชีวิตอยู่ ทั้งนี้ สภาพเเวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงดูเหล่านี้ อาจจะไม่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของเด็กในครอบครัวด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ปกครองไม่ควรนำระบบสภาพเเวดล้อมภายนอกมากดดันเด็กและหรือระบบการเลี้ยงดูตามที่ตนเองต้องการ ทั้งนี้ควรที่จะเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กในครอบครัวอื่นๆที่ผ่านมาทั้งในส่วนของปัญหาซึมเศร้า การหนีออกจากบ้าน และปัญหาภายในครอบครัวอื่นๆที่เกิดขึ้นในสังคม เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หลักเกณฑ์ที่ดีงานของชุมชนและสังคมจึงเป็นเรื่องที่ควรค่าเเก่การพิจารณานำมาใช้ในการเลี้ยงดู ภาพ การบังคับลูกในเรื่องเรียน(ที่มา:https://kor-kai.com/archives/3665) ในปี ค.ศ.1991 Germain ได้ใช้แบบจำลองทางทฤษฎีระบบทั้งสองแบบ(สภาพเเวดล้อมทางนิเวศของ Bronfenbrenner และทฤษฎีระบบของ Bertalanffy) กับงานสังคมสงเคราะห์ Germain ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชีวจิตสังคมของบุคคลและครอบครัวภายในบริบททางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นมุมมองที่ต้องการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาถึงเหตุการณ์ทั้งหมดในชีวิตของบุคคลนั้นๆด้วยเพราะนักสังคมสงเคราะห์จะต้องก้าวไปไกลกว่าขอบเขตในการมองดูตัวบุคคลและการอาศัยนโยบายสาธารณะ แนวปฏิบัติ และการวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องควรค่าแก่การทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ที่ดีงามต่อไป สมมติฐานพื้นฐานของทฤษฎีระบบ(Underlying Assumptions of Systems Theory) ทฤษฎีระบบอาศัยสมมติฐานบางประการ เช่น พฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ มีจุดมุ่งหมาย คือสภาวะความสมดุล:ระบบจะมีการรักษาตัวเอง แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพเเวดล้อมก็ตาม คือการจัดระเบียบตนเอง:ระบบจะตกผลึกจากความไม่เป็นระเบียบ คือ Autopoiesis(ระบบอัตตกำเนิด:กระบวนการที่ทำให้เกิดตัวตนขึ้นมา):ระบบสรา้งและทำซ้ำองค์ประกอบของตัวเองตลอดจนโครงสรา้งของตัวเอง เช่น การสรา้งเครือข่ายด้วยระบบของเครือข่าย แต่จะมีความตรงกันข้ามกับ Aotopoietic(เช่นโรงงาน ซึ่งใช้วัสดุเพื่อผลิตสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ตัวมันเอง)Autopoiesis(ระบบอัตตกำเนิด:กระบวนการที่ทำให้เกิดตัวตนขึ้นมา):ระบบสรา้งและทำซ้ำองค์ประกอบของตัวเองตลอดจนโครงสรา้งของตัวเอง แต่จะมีความตรงกันข้ามกับ Aotopoietic(เช่นโรงงาน ซึ่งใช้วัสดุเพื่อผลิตสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ตัวมันเอง) (Bouchrika, 2024) รูปแบบของทฤษฎีระบบ(Models of Systems Theory) ผู้เขียนขอนำเสนอแบบจำลองของทฤษฎีระบบของนักวิชาการทั้งสองท่านคือ แบบจำลองทางสังคมและนิเวศวิทยา หรือ Socio-ecological (Ecosystems) Model กับ ทฤษฎีระบบครอบครัวของ Bowen Theory 1.แบบจำลองทางสังคมและนิเวศวิทยา โดยเเบบจำลองทางสังคมนี้ สามารถพิจารณาย้อนกลับไปถึงทฤษฎีทางชีววิทยาที่มีการอธิบายว่า สิ่งมีชีวิตปรับตัวกับสภาพเเวดล้อมได้อย่างไร และแบบจำลองทางสังคมและนิเวศวิทยา(ระบบนิเวศ) มีการพิจารณาว่า บุคคลได้รับอิทธิพลจากระบบที่เชื่อมโยงถึงกันห้าระบบที่สรา้งสภาพเเวดล้อมของตนเองอย่างไร โดยระบบเหล่านี้จนถึงระบบบุคคล ระดับจุลภาค ระดับชั้นกลาง ระดับชั้นนอก และระดับมหภาค(เช่น ครอบครัวอันเป็นระดับจุลภาคไปจนถึงระดับมหภาคคือรัฐบาล) แต่ละระบบมีส่วนช่วยต่อสถานการณ์ปัจจุบันของแต่ละบุคคลที่มีขนาดกว้างขึ้น ทั้งนี้ (Lonne, 2016);(Sincero,2012);(Crawford,2020) ได้นำเสนอระดับของแบบจำลองทางสังคมและนิเวศวิทยาดังนี้ ภาพ แบบจำลองทางสังคมและนิเวศวิทยา 1.1.The Micro System ระบบไมโคร คือสภาพเเวดล้อมที่มีผลต่อชีวิตบุคคลโดยตรง เช่น ครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนบ้านและบุคคลอื่นๆที่มีการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมโดยตรงกับบุคคล นอกจากนั้น บุคคลก็ยังมีส่วนช่วยในการปฏิสัมพันธ์ต่อสภาพเเวดล้อมจุลภาคของตนเองด้วยเช่นเดียวกัน 1.2.The Mesosystem เกี่ยวข้องและปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของ Micro System ของบุคคลที่มีผลกระทบทางอ้อมต่อบุคคล ซึ่งหมายความว่า ประสบการณ์ครอบครัวอาจเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ในโรงเรียน ตัวอย่างเช่น หากเด็กถูกพ่อเเม่ละเลยในครอบครัว เด็กอาจจะมีทัศนคติเชิงลบกับครูและเพื่อน นอกจากนั้น เด็กอาจจะรู้สึกอึดอัดเมื่ออยู่ต่อหน้าเพื่อนและอาจจะหันไปเก็บตัวคนเดียว 1.3.The Exosystem หรือระบบภายนอก คือระบบที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลได้เช่นเดียวกัน ถึงเเม้ว่าบุคคลจะไม่เข้าไปมีบทบาทต่อระบบเหล่านั้นมากนัก เช่น ระบบเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา การปกครอง และระบบศาสนา ตัวอย่าง เช่น นักเรียนในระดับประถมศึกษา ถึงเเม้ว่าจะไม่มีบทบาทในโรงเรียนด้านการบริหารจัดการการศึกษา แต่ก็ยังได้รับผลกระทบจากการบริหารที่ดีหรือเเย่ของผู้บริหารโรงเรียนเป็นต้น 1.4.The Macro system หรือระบบมหภาค คือวัฒนธรรมในการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งรวบรวมความเชื่อและค่านิยมที่ครอบคลุมเช่น สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ชาติพันธุ์หรือเชื้อชาติ และการอาศัยอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศที่มักสรา้งค่านิยมให้กับคนในประเทศนั้นๆ 1.5. The Chrono system คือการเปลี่ยนแปลงของบริบทหนึ่งๆของบุคคลซึ่งส่งผลต่อทั้งชีวิตอายุขัย เช่นการหย่าร้าง การออกจากโรงเรียน การว่างงาน และการเกษียณอายุ สิ่งเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับบริบททางสังคมและประวัติศาสตร์ที่อาจมีอิทธิพลต่อบุคคล ตัวอย่างเช่น การหย่าร้างเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต และอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของลูกด้วย(โดยเฉพาะปีเเรกของการหย่าร้าง) หรือเเม้กระทั่งการโดนบังคับให้โยกย้ายถิ่นฐานของชุมชนในการสรา้งเขื่อนของรัฐบาล การเปลี่ยนเเปลงโยกย้ายถิ่นฐานมักจะกระทบกับสังคมในวงกว้าง 2.ระบบFamily Systems / Bowen Theory หรือ ทฤษฎีระบบครอบครัวของ Bowen Theory ทฤษฎีระบบครอบครัว เป็นแบบจำลองที่พัฒนามาจากทฤษฎีระบบ ซึ่งมีกระบวนการที่มีโครงสรา้งซับซ้อนจึงเหมาะสมกับผู้ที่ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ซึ่งมีความใกล้ชิดกับสถาบันครอบครัวให้มีประสิทธิภาพในการดูแลและพัฒนาสถาบันครอบครัวและผู้ที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีนี้ได้รับการพัฒนาจาก Dr Murray Bowen จึงได้รับการขนามนามว่า ทฤษฎีของ Bowen โดยทฤษฎีระบบครอบครัวนี้ ถูกมองว่าพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการ แก้ปัญหา และพิจารณาระบบครอบครัวที่มีความซับซ้อนเป็นหลัก เพราะระบบครอบครัวรเป็นระบบที่มีระบบกลไกและองค์ประกอบที่เชื่อมโยงตลอดจนถึงรูปแบบของการตอบรับและพึ่งพาซึ่งกันเเละกัน และหากจะพิจารณาองค์ประกอบเป็นส่วนๆจะไม่สามารถทำความเข้าใจกับระบบครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบครอบครัว มักเรียกร้องความสนใจ ตลอดจนการเรียกหาการได้รับการยอมรับจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และการสนับสนุนซึ่งกันเเละกัน และการตอบสนองต่อความต้องการ ความคาดหวังและการส่งต่อ ถ่ายเท ความไม่สบายใจของกันเเละกัน โดยการทำความเข้าใจต่อทฤษฎีนี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคลและจะสะท้อนเเนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ดีได้ในอนาคต(Bouchrika, 2024; Bowen Center, 2024; Davies, 2022; Lonne, 2016). ในบทความต่อไปผู้เขียนจะอธิบายความเชื่อมโยงและการนำทฤษฎีระบบมาใช้ในงานยุทธศาสตร์การพัฒนา ยุทธศาสตร์ NEC แนวคิดและทฤษฎีการสร้างยุทธศาสตร์