ยุทธศาสตร์ NEC มหายุทธศาสตร์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง : ความหมาย ความสำคัญของมหายุทธศาสตร์ ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, November 5, 2024December 25, 2024 ท่ามกลางความผันผวนของภูมิรัฐศาสตร์ที่รุนเเรงระหว่างประเทศและชาติมหาอำนาจ ทั้งในส่วนของสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหพันธรัฐรัสเซีย ตลอดจนชาติต่างๆในตะวันออกกลาง ที่ในปัจจุบันเริ่มมีความขัดเเย้งครั้งใหม่ระหว่างอิสราเอลกับชาติตะวันออกกลางอื่นๆ ตลอดจนความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะชาติในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มีต่อสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เริ่มมีการรุกล้ำทั้งในส่วนของการขยายอาณาเขตทางธุรกิจ สังคม เศรษฐกิจและสิ่งเเวดล้อม จนทำให้รัฐชาติในเเถบนี้เริ่มที่จะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับการศึกษาถึงเเนวทางในการพัฒนาประเทศเพื่อให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ตลอดจนความพยายามของจีนที่จะมุ่งลงใต้โดยผ่านทางประเทศไทยให้ได้ เพราะฉะนั้น การศึกษาถึงมหายุทธศาสตร์ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักยุทธศาสตร์ นักวิชาการ และนักบริหารระดับสูงของภาครัฐ โดยการมุ่งความสนใจไปที่คำถามลำดับสูงสุดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือ คำว่า why, how,what purposes (ทำไม อย่างไร และวัตถุประสงค์เพื่ออะไร) ต่อจากนั้น ผู้บริหารของรัฐจึงต้องใช้อำนาจของตนเอง(ชาติ)ที่มีอยู่ในการกำหนดนโยบาย ตลอดจนการอุดรูรั่วอำนาจทางการทหารที่มีอยู่ มหายุทธศาสตร์ที่ดีจะมีส่วนในการกำหนดบทบาทระหว่างประเทศของตนเองได้ ตลอดจนการชี้เเนะแนวทางและวิธีการเพื่อตอบสนองต่อนโยบายเหล่านั้นเพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อหันกลับมามองมหายุทธศาสตร์ของหลายๆประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน ยังไม่มีความสอดคล้องและปะติดปะต่อ และยากต่อการนำทาง อันเนื่องจากข้อเสียของการเมืองในระดับประชาธิปไตยคือการไม่ต่อเนื่องและไม่มั่นคง และในส่วนของการเมืองฝั่งสังคมนิยมก็ยังมีลักษณะของการสั่งการเเบบ Top Dow องค์ความรู้ทางวิชาการจึงมีน้อย ในบทความวิชาการว่าด้วย มหายุทธศาสตร์ จึงมีวัตถุประสงค์ขจัดความสบสน ความไม่ปะติดปะต่อ และความยากต่อการนำทาง การชี้นำที่ปราศจากวิชาการที่ชัดเจน โดยในบทความว่าด้วยมหายุทธศาสตร์ ผู้เขียนจะเเบ่งออกเป็น 3 หัวข้อด้วยกันคือ หัวข้อที่… Continue Reading
การวิจัยกับ NEC ตัวแบบความคิดด้านยุทธศาสตร์การพัฒนา ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, July 27, 2024July 28, 2024 ภายใต้กระแสแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นคือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างพลิกผัน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัย แนวโน้มเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ การขยายตัวของความเป็นเมือง การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมทางสังคม และภาวะโลกร้อนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับปัจจัยเร่งจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด – 19) ที่ก่อให้เกิดความผันผวนของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมแก่หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสามารถนำมาซึ่งโอกาสและความเสี่ยงที่จะช่วยผลักดันให้การพัฒนาประเทศไทยในระยะต่อไปให้เกิดความสำเร็จ หรือเป็นอุปสรรคให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ขึ้นอยู่กับบริบทหรือศักยภาพและขีดความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยความก้าวหน้าและแพร่หลายของเทคโนโลยีจะสรรค์สร้างประโยชน์ให้เกิดเป็นโอกาสต้องอาศัยการพัฒนาคนและระบบบริหารจัดการด้านดิจิทัลและข้อมูลสารสนเทศให้มีความพร้อมเพื่อรองรับโอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงให้กระจายลงสู่ทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงเท่าทัน ขณะเดียวกันความเสี่ยงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบเชิงลบและเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อประเทศไทยในการที่จะต้องเร่งแสวงหาแนวทางในการแก้ไขรับมือนั้นมาจากแนวโน้มด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจและดิจิทัล รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ รวมถึงมิติการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความเสมอภาคในสังคม ซึ่งบริบทสถานการณ์ของประเทศไทยที่ยังมีข้อจำกัดภายในหลายประการ หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนแล้ว อาจส่งผลให้ประเทศมีความเปราะบางยิ่งขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีความผันผวนสูง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะประเทศจีนมีบทบาทในการกำกับระเบียบเศรษฐกิจการเมืองของโลกมากขึ้น จนทำให้ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาต้องเพิ่มบทบาทในเวทีโลกเพื่อคานอำนาจอิทธิพลของประเทศจีน ทำให้ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของโลกได้รับผลกระทบ กอปรกับความเชื่อมโยงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคมีมากขึ้น และประเทศไทยมีตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ได้เปรียบของการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคด้านการค้าการลงทุนและการให้บริการโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงภูมิภาคเข้ากับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จึงเป็นความท้าทายในบทบาทความร่วมมือที่มีความเหมาะสมกับบริบททางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ ส่งผลต่อทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติเพื่อพลิกโฉมประเทศไทยในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งงชาติ ฉบับที่ 13 ที่มีเป้าหมายหลักเพื่อพลิกโฉมประเทศสู่ “เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน” เพื่อสนับสนุนเสริมสร้างการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมอย่างทั่วถึง ตลอดจนเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จนสามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวไปพร้อมกับการรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความสอดคล้องการพัฒนาหลากหลายพื้นที่ในประเทศไทย กลายผลเป็นการกำหนดแผนยุทธศาสตร์รองรับการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์บนฐานเศรษฐกิจ… Continue Reading
ยุทธศาสตร์ NEC ระเบียงเศรษฐกิจกับเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, July 27, 2024July 28, 2024 1.ที่ตั้งและศักยภาพ จังหวัดเชียงรายมีประชากรทั้งหมด 1,298,687 คน เป็นจังหวัดชายแดนทางภาคเหนือของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2(เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) เป็นจังหวัดที่มีความพิเศษมากกว่าจังหวัดอื่นในประเทศไทยตรงที่มีชายแดนติดกับ 2 ประเทศคือ เมียนมาร์ และ สปป.ลาว และที่พิเศษไปกว่านั้นคือ การเป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้กับเขตเศรษฐกิจพิเศษต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว เพียงน้ำโขงกั้น ขณะเดียวกันยังสามารถเดินทางโดยรถยนต์ ทางเรือ และทางอากาศไปยังประเทศจีนได้ภายในวันเดียว โดยจังหวัดเชียงรายนั้นมีเนื้อที่ทั้งหมดมีเนื้อที่ประมาณ 11,678.369 ตร.ก.ม. หรือประมาณ 7,298,981 ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 785 กิโลเมตร จังหวัดเชียงรายอยู่บนแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) ซึ่งสามารถไปทางเหนือเชื่อมโยงกับจีนตอนใต้ (มณฑลยูนนาน) ได้ทั้งทางบกและทางน้ำ โดยทางบกอาศัย 2 เส้นทาง ได้แก่ ถนน R3A (ผ่านด่าน เชียงของ และ สปป.ลาว) และ… Continue Reading
ยุทธศาสตร์ NEC บทบาทระเบียงเศรษฐกิจต่อภาพรวมเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, July 27, 2024July 28, 2024 ปรากฏการณ์ไหลบ่าเข้ามาอย่างผิดกฎหมายของแรงงานข้ามชาติ ที่อยู่บริเวณตะเข็บชายแดนไทย-ลาว ไทย-เมียนมาร์ ไทย-กัมพูชา ไทย-มาเลเซีย ส่งผลให้เกิดการหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฏหมายและกลายเป็นความกังวลต่อปัญหาความมั่นคง โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2565 เป็นต้นมา มีผู้หลบหนีเข้าเมืองแล้วกว่า 14,000 คน[1] แต่ขณะเดียวกันการหลบหนีเข้าเมืองนับเป็นเรื่องปกติของการมีแนวตะเข็บชายแดนที่ติดต่อกันมาตั้งแต่อดีต การห้ามหลบหนีเข้าเมืองจึงเป็นมาตรการ ที่กระทำกัน โดยส่วนใหญ่ประเทศไทยมักประสบเจอกับปัญหาการหลบหนีเข้าเมืองมากกว่า สปป.ลาว เมียนมาร์ และ กัมพูชา ในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จากปัญหาดังกล่าวสิ่งที่สำคัญที่รัฐบาลไทยวิเคราะห์ได้คือ การหลบหนีเข้าเมืองมาเพื่อหางานทำในปะเทศไทยซึ่งมีโอกาสในทางเศรษฐกิจมากกว่า 3 ประเทศข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทยเป็นประเทศปลายทางที่มีอุตสาหกรรมการผลิตที่ความต้องการแรงงานราคาถูกสูงและเป็นแรงงานที่ไม่ปฏิเสธกิจกรรมแรงงานบางประเภทที่มีความเสี่ยงและสกปรกตลอดจนตำแหน่งงานระดับล่างที่คนไทยไม่นิยมทำกันเช่น อาชีพกรรมกร ตลอดจนแนวคิดในการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของประชาชน จึงทำให้รัฐบาลไทยมีแนวคิดที่จะย้ายฐานการผลิตไปอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน ซึ่งสามารถรองรับสภาพปัญหาของการหลบหนีเข้าเมือง ตลอดจนการขนย้ายวัตถุดิบการผลิตและการส่งออก-นำเข้าสินค้าต่างๆได้ดีกว่าการผลิตจากส่วนกลางของประเทศ ซึ่งไม่เอื้อต่อการผลิต การขนย้าย การทำงานแบบไปกลับของแรงงานต่างด้าวตลอดจนการยกเว้นภาษีนำเข้าของสินค้าต่างๆตลอดรวมทั้งวัตถุดิบในการผลิต จากประเด็นดังกล่าว รัฐบาล สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร จึงได้จัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) ในปี พ.ศ.2509 ตลอดจนการก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2515[2] ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม มีการจัดพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้รวมกันอย่างเป็นระบบและระเบียบและเป็นกลไกของภาครัฐในการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค และในปี พ.ศ…. Continue Reading
ยุทธศาสตร์ NEC ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ความหมายและความสำคัญ ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, June 14, 2024December 25, 2024 นับตั้งแต่“ยุทธศาสตร์”(Strategy) ได้รับการบรรจุเป็นคำสำคัญ(Key Word) ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ในช่วงปี พ.ศ.2540-2544 ส่งผลให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีการตื่นตัวและสนใจในการศึกษาถึงระเบียบวิธีในการนำมาใช้ในองค์กรและนโยบายสาธารณะของประเทศไทย ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัย ยังได้มีการนำระเบียบวิธีทางยุทธศาสตร์มาปรับใช้ และจัดทำหลักสูตรให้รองรับแนวคิดด้านยุทธศาสตร์ เพื่อใช้ในการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน จุดเด่นของความเป็น “ยุทธศาสตร์” คือ ความเป็น methodology (ระเบียบวิธี) มิใช่ศาสตร์เฉพาะ ส่งผลให้มีการเปิดกว้างให้กับทุกกลุ่มสาขาอาชีพนำไปใช้ รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการจัดการภาครัฐและเอกชนให้ไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่จีนมีนโยบายตามหลักการ “มุ่งลงใต้”ภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt, One Road(Mau,K And Seuren,R,2022) หรือเส้นทางสายไหมเส้นใหม่(ผู้เขียน) ที่มุ่งเน้นฝ่าวงล้อมจากการปิดกั้นของมหาอำนาจตะวันตกโดยการนำของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ประเทศไทยและกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง[1] ปรับตัวขนานใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศใช้ยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขัน การแสวงหาโอกาสจากการค้าการลงทุน การปรับตัวและรวมทั้งการเอาตัวรอด พร้อมทั้งการรับมือสถานการณ์ของสังคมโลกและโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นที่น่าสนใจว่า ประเทศต่างๆเหล่านี้มียุทธศาสตร์ในการปรับตัวอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การทำความเข้าใจทางยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคโดยภาพรวม จะเป็นผลดีต่อการทำความเข้าใจสืบเนื่องต่อไป เพื่อให้เกิดความสามารถเชื่อมต่อไปได้ในทุกเนื้อหาของบทความนี้ ความหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ยุทธศาสตร์มีต้นกำเนิดในภาษากรีกจากคำว่า Strategos ซึ่งหมายถึงนายพลหรือผู้ที่มีอำนาจในกองทัพ… Continue Reading
ยุทธศาสตร์ NEC ความหมายและความสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค* ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, February 25, 2024July 28, 2024 นับตั้งแต่“ยุทธศาสตร์”(Strategy) ได้รับการบรรจุเป็นคำสำคัญ(Key Word) ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ในช่วงปี พ.ศ.2540-2544 ส่งผลให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีการตื่นตัว และสนใจในการศึกษาถึงระเบียบวิธีในการนำมาใช้ในองค์กรและนโยบายสาธารณะของประเทศไทย ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัย ยังได้มีการนำระเบียบวิธีทางยุทธศาสตร์มาปรับใช้ และจัดทำหลักสูตรให้รองรับแนวคิดด้านยุทธศาสตร์ เพื่อใช้ในการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน จุดเด่นของความเป็น “ยุทธศาสตร์” คือ ความเป็น methodology (ระเบียบวิธี) มิใช่ศาสตร์เฉพาะ ส่งผลให้มีการเปิดกว้างให้กับทุกกลุ่มสาขาอาชีพนำไปใช้ รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการจัดการภาครัฐและเอกชนให้ไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่จีนมีนโยบายตามหลักการ “มุ่งลงใต้”ภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt, One Road(Mau,K And Seuren,R,2022) หรือเส้นทางสายไหมเส้นใหม่(ผู้เขียน) ที่มุ่งเน้นฝ่าวงล้อมจากการปิดกั้นของมหาอำนาจตะวันตกโดยการนำของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ประเทศไทยและกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง[1] ปรับตัวขนานใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศใช้ยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขัน การแสวงหาโอกาสจากการค้าการลงทุน การปรับตัวและรวมทั้งการเอาตัวรอด พร้อมทั้งการรับมือสถานการณ์ของสังคมโลกและโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นที่น่าสนใจว่า ประเทศต่างๆเหล่านี้มียุทธศาสตร์ในการปรับตัวอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การทำความเข้าใจทางยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคโดยภาพรวม จะเป็นผลดีต่อการทำความเข้าใจสืบเนื่องต่อไป เพื่อให้เกิดความสามารถเชื่อมต่อไปได้ในทุกเนื้อหาของบทความนี้ ความหมายของยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ยุทธศาสตร์มีต้นกำเนิดในภาษากรีกจากคำว่า Strategos ซึ่งหมายถึงนายพลหรือผู้ที่มีอำนาจในกองทัพ… Continue Reading
ยุทธศาสตร์ NEC ภาพรวมเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, February 25, 2024July 28, 2024 ปรากฏการณ์ไหลบ่าเข้ามาอย่างผิดกฎหมายของแรงงานข้ามชาติที่อยู่บริเวณตะเข็บชายแดนไทย-ลาว ไทย-เมียนมาร์ ไทย-กัมพูชา ไทย-มาเลเซีย ส่งผลให้เกิดการหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฏหมายและกลายเป็นความกังวลต่อปัญหาความมั่นคง โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2565 เป็นต้นมามีผู้หลบหนีเข้าเมืองแล้วกว่า 14,000 คน[1] แต่ขณะเดียวกันการหลบหนีเข้าเมืองนับเป็นเรื่องปกติของการมีแนวตะเข็บชายแดนที่ติดต่อกันมาตั้งแต่อดีต การห้ามหลบหนีเข้าเมืองจึงเป็นมาตรการที่กระทำกัน โดยส่วนใหญ่ประเทศไทยมักประสบเจอกับปัญหาการหลบหนีเข้าเมืองมากกว่า สปป.ลาว เมียนมาร์ และ กัมพูชา จากปัญหาดังกล่าวสิ่งที่สำคัญที่รัฐบาลไทยวิเคราะห์ได้คือ การหลบหนีเข้าเมืองมาเพื่อหางานทำในประเทศไทย เกิดจากโอกาสในทางเศรษฐกิจมากกว่า 3 ประเทศข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทยเป็นประเทศปลายทางที่มีอุตสาหกรรมการผลิตที่ความต้องการแรงงานราคาถูกสูงและเป็นแรงงานที่ไม่ปฏิเสธกิจกรรมแรงงานบางประเภทที่มีความเสี่ยงและสกปรก ตลอดจนตำแหน่งงานระดับล่างที่คนไทยไม่นิยมทำกันเช่น อาชีพกรรมกร ตลอดจนถึงแนวคิดในการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ของประชาชนทำให้รัฐบาลไทยมีแนวคิดที่จะย้ายฐานการผลิตไปอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน ซึ่งสามารถรองรับสภาพปัญหาของการหลบหนีเข้าเมือง ตลอดจนการขนย้ายวัตถุดิบการผลิตและการส่งออก-นำเข้าสินค้าต่างๆได้ดีกว่าการผลิตจากส่วนกลางของประเทศซึ่งไม่เอื้อต่อการผลิต การขนย้าย การทำงานแบบไปกลับของแรงงานต่างด้าวตลอดจนการยกเว้นภาษีนำเข้าของสินค้าต่างๆตลอดรวมทั้งวัตถุดิบในการผลิต จากประเด็นดังกล่าว รัฐบาลสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร จึงได้จัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) ในปี พ.ศ.2509 ตลอดจนการก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2515[2] ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม มีการจัดพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้รวมกันอย่างเป็นระบบและระเบียบและเป็นกลไกของภาครัฐในการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค และในปี พ.ศ…. Continue Reading
ยุทธศาสตร์ NEC ภาพรวมระเบียงเศรษฐกิจในประเทศไทย ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, February 22, 2024July 28, 2024 ระเบียงเศรษฐกิจเป็นแรงบันดาลใจจากเส้นทางสายใหม่เส้นเก่าและเส้นใหม่ของประเทศจีน ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างเมืองที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน จนในปัจจุบันจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ประเทศจีนได้นำเอากรอบคิดดังกล่าวไปปรับใช้กับโครงการ One Belt One Roadหรือเส้นทางสายใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ระหว่าง 60 ประเทศ ซึ่งการเชื่อมโยงเหล่านี้กลายเป็นรายได้ของสหประชาชาติร้อยละ 50 ของทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและขณะเดียวกัน ยุทธศาสตร์เส้นทางสายใหมแห่งใหม่นี้มิใช่กรอบความคิดใหม่ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงแห่งนี้ เพียงแต่เป็นกรอบความคิดซึ่งเกิดขึ้นมาเมื่อ 30 ปีที่แล้วโดยแรงผลักดันของโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงโดยการผลักดันของธนาคารแห่งเอเชียหรือ Asian Development Bank(ADB) โดยในขณะนั้นได้มีการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเส้นทางพาดผ่านตั้งแต่ประเทศไทย เมียนมาร์ สปป.ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ ส่งผลให้ประเทศจีนได้รับอานิสงค์จนนำไปใช้สนับสนุน(ต่อ)ในโครงการ One Belt One Road ภายหลังจากการปฏิบัติสร้างของ One Belt One Road กลายเป็นระเบียงเศรษฐกิจเพื่อพาดผ่านไปยังหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ(ประเทศ) ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ยังผลให้มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะถนน ด่านศุลกากร ด่านตรวจคนเข้าเมืองของประเทศต่างๆระบบโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่อุปทานซึ่งหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาระบบโครงสร้างต่างๆ ของระบบโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่อุปทานจึงเป็นสิ่งที่ประเทศไทยจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะดำเนินการพัฒนาตามเส้นทางของระบบโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า พื้นที่ใดมีการส่งออกและนำเข้าก็จะมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมารองรับทุกพื้นที่ที่มีการขนส่งไหลผ่าน เช่นพื้นที่ส่งออกและนำเข้าบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง… Continue Reading
ยุทธศาสตร์ NEC ปฐมบท บทความออนไลน์ ระเบียงเศรษฐกิจ ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, February 22, 2024July 28, 2024 นับเเต่สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เริ่มมีเเนวคิดในการปรับปรุงหลักสูตรตั้งเเต่ปี พ.ศ.2565 เป็นต้นมา เราเริ่มมีความคิดเห็นตรงกันว่า สาระส่วนใหญ่น่าจะต้องเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เเละเมื่อกล่าวถึงในกลุ่มประเทศนี้ พบว่า ยังมีหลายเรื่องหลายประเด็นที่นำไปสู่ข้อค้นพบ ข้อศึกษาวิจัย ตลอดจนข้อควรพิจารณาเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย ตลอดจนกรณีศึกษาเพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ อันนำไปสู่วิวาทะด้านฉากทัศน์และแนวทางในการพัฒนาของประเทศ ตลอดรวมถึงวิธีในการรับมือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ทั้งจากสาธารณรัฐประชาชนจีน สปป.ลาว สหภาพเมียนมาร์ ราชอาณาจักกัมพูชา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งเเวดล้อม เพราะฉะนั้นการให้ความสำคัญกับการวางกรอบแนวคิดของหลักสูตรยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคจึงมีส่วนสำคัญยิ่งที่จะนำไปสู่การให้ความรู้ การเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนคนไทย ดังนั้น นอกจากจะมีการวางกรอบแนวคิดด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาในพื้นที่กลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ การให้ความรู้ ซึ่งนอกจากจะเป็นในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบปกติของสาขาวิชาฯแล้วนั้น สาขายังมีวิธีการในการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆ ผ่านระบบออนไลน์ ในเว็ปนี้ เพื่อที่ผู้เรียน และผู้ที่สนใจจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป สำหรับการนำเสนอองค์ความรู้ แนวคิด และข่าวสารในเว็ปนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระเบียงเศรษฐกิจโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย โดยครอบคลุมหัวข้อที่เกี่ยวกับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ เกษตรกับการส่งออกในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ การวิจัยกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ เลาะระเบียงเที่ยว และคติชนคนระเบียงเศรษฐกิจ… Continue Reading