ทฤษฎีระบบกับยุทธศาสตร์การพัฒนา:System Theory and Development Strategy ผศ.ดร.วิกรม บุญนุ่น, January 30, 2025March 6, 2025 Post Views: 86 จากที่ได้กล่าวในหัวเรื่อง ทฤษฎีระบบ System Theory :ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้น ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของการพัฒนาทฤษฎีระบบและการนำทฤษฎีระบบไปใช้ในศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมสงเคราะห์ โดยพบว่า วิธีคิดของทฤษฎีระบบหรือ System Theory เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับการคิดวิเคราะห์เป็นที่ตั้งและเป็นเหรียญอีกด้านนึงของกระบวนการคิดแบบเส้นตรงหรือ Linear thinking โดยการคิดแบบเส้นตรงนั้นเป็นรูปแบบการคิดที่พบว่า เมื่อพฤติกรรมเป็นอย่างไร นั่นก็เเสดงว่า เกิดจากปัจจัยเหล่านั้นเป็นที่ตั้ง (หรือ ถ้าเหตุเป็นอย่างนั้นเเล้ว ผลก็ต้องเป็นอย่างนั้น) เเตกต่างจากการคิดเชิงระบบของทฤษฎีระบบ เพราะว่า ทฤษฎีระบบตั้งอยู่บนฐานการคิดที่มีความสลับซับซ้อนเป็นที่ตั้ง(Complex System) คือถ้าเป็นอย่างนี้ก็สามารถเป็นอย่างนั้น อย่างโน้นได้ไม่ตายตัว หรือเป็นไปได้หลายอย่าง เพราะ ลักษณะของทฤษฎีระบบมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากกว่า 1 เสมอ และเมื่อมีความเกี่ยวข้องมากกว่า 1 นั้นย่อมเเสดงว่า ผลที่ได้ก็มากกว่า 1 นั่นเอง สำหรับเเนวคิดของทฤษฎีระบบ เป็นอีกหนึ่งตัวแบบที่สามารถนำมาอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้ันในสังคมได้อย้่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นการให้ความสำคัญกับการศึกษาและมองสังคมเป็นองค์รวมและเป็นระบบ และการมองมักจะมีองค์ประกอบนับตั้งเเต่ปัจจัยนำเข้า(Input) กระบวนการในการผลิต(Process) และ หน่วยผู้ใช้ผลผลิต(Output) ทั้งนี้ทั้งสามหน่วย อยู่ภายใต้สภาพบริบทที่มีอยู่(Context) หรือบางตำรามักใช้คำว่า environment ดังแนวคิดของ Uri Bronfenbrenner ซึ่งใช้คำว่า สภาพเเวดล้อมนิเวศวิทยา และ ข้อเสนอแนะหรือ Feedback ภาพทฤษฎีระบบ จากภาพ ถึงเเม้นว่า ทฤษฎีระบบจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังที่ทราบ แต่อาจจะเป็นแผนภาพที่เเสดงถึงปัจจัยนำเข้าหรือ Input ที่มากกว่า 1 เสมอ และนั่นก็เช่นเดียวกัน ทั้ง Process และ Output ตลอดจน Environment และ Feedback ด้วยเช่นเดียวกัน โดยลักษณะของระบบและความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่างๆมักจะเกิดขึ้นจากปัจจัยนำเข้าเสมอ และต้องพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้ง สิ่งเเวดล้อม(Environment) และ Feedbackหรือข้อเสนอแนะ ด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ แนวคิดของทฤษฎีระบบที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนานั้น เฉลียว บุรีภักดี ศาสตราจารย์ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ล่วงลับ ได้สังเคราะห์แนวคิดเชิงระบบ(System Concepts) และการคิดเชิงระบบ(System Thinking) ในตำราหลายเล่ม ตลอดรวมถึง การสังเคราะห์พุทธธรรม 3 หลักประการด้วยกันคือ หลักอิทัปปัจจยตา(หรือภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย) หลัก ปฏิจจสมุปบาท อันหมายถึง ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นโดยปราศจากสิ่งอื่น ทุกสิ่งต่างอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้นหรือปรากฎลักษณะขึ้น และ ไตรลักษณ อันหมายถึง ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนเเปลง ศาสตราจารย์ ดร.เฉลียว บุรีภักดี จึงได้สังเคราะห์หลักการทั้ง 3 ประการมาใช้ในการอธิบายทฤษฎีระบบและนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในวงการยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยมีหลักคิดที่น่าสนใจว่า เมื่อนำเอาทฤษฎีระบบมาใช้ในงานยุทธศาสตร์การพัฒนา ปัจจัยนำเข้าที่ว่า อาจจะเป็นได้ทั้งสภาพปัญหาที่เป็นอยู่เกิดได้ทั้งปัญหาเป้า ปัญหาปัจจัย ปัญหาทุกข์ร้อน และปัจจัยพัฒนาชที่เกี่ยวข้อง หากเป็นในด้านการพัฒนาองค์กร ปัจจัยที่ว่านอกจากผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาเเล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องรู้จักสังเคราะห์ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา เช่นในแนวคิดการพัฒนาองค์กร อาจจะประกอบไปด้วยแนวคิด 4M คือ คน(Man) เงิน(Money)เครื่องมือ (Materials) และการจัดการ(Management) หรืออาจจะมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่กับองค์กร เช่น สถานศึกษาในปัจจุบันอาจจะใช้หลักการ McKinsey 7S Model เป็นต้น ภายหลังจากนั้น การที่จะระบุถึง Process ที่ดีได้นั้น นักพัฒนา จะต้องมีคุณสมบัติความเป็นนักสังเคราะห์เนื้อหาที่ดี เพื่อนำไปสู่การนำเสนอแนวทางในการพัฒนา เช่นรูปแบบการทำงาน รูปแบบความเป็นอยู่ รูปแบบการเเก้ไขปัญหา แนวทางเหล่านี้เป็นได้ทั้งการรีวิวมาจากงานวิจัย บทความวิชาการต่างๆ ตลอดจนถึงประสบการณ์ของบุคคลนั้นๆ ทั้งนี้นอกจากการรีวิวเอกสารเเล้ว สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือ สภาพเเวดล้อมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันขององค์กร เช่นสภาพการทำงาน คู่เเข่ง นโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้อง สุดท้ายเมื่อนำเข้าทั้งในส่วนของปัจจัยนำเข้า กระบวนการ สุดท้าย ผลผลิตที่ได้มาคือผลผลิตใหม่ ทรัพยากรใหม่ และสิ่งอื่นๆที่นำไปสู่การพัฒนาใหม่ๆเป็นต้น บทความฉบับต่อไปจะขอกล่าวถึงการประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบกับกรอบแนวคิดในการวิจัย ยุทธศาสตร์ NEC แนวคิดและทฤษฎีการสร้างยุทธศาสตร์